หัวข้อ   “ คนไทยกับการเที่ยวงานลอยกระทงปี 2556
ประชาชน 52.2% คาดว่า งานลอยกระทงปีนี้น่าจะคึกคักน้อยกว่าปีที่แล้ว
และ 56.4 % อยากลอยการเมืองไทยไปกับสายน้ำ
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  เนื่องด้วยวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ เป็นวันลอยกระทง ศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
จึงได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนที่อาศัยอยู่
ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,354 คน พบว่า
 
                  ประชาชนร้อยละ 52.4 ตั้งใจจะออกไปลอยกระทงในปีนี้ ขณะที่
ร้อยละ 47.6 บอกว่าไม่แน่ใจ ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 32.4 อยากไปร่วมงานสีสันแห่ง
สายน้ำ มหกรรมลอยกระทง กรุงเทพฯ มากที่สุด
รองลงมาร้อยละ 19.9 อยากไป
งานยี่เป็ง จ.เชียงใหม่ และร้อยละ 11.8 อยากไปงานเผาเทียนเล่นไฟ จ.สุโขทัย
 
                  เมื่อถามถึงบรรยากาศงานลอยกระทงในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ประชาชนร้อยละ 52.2 คาดว่าน่าจะคึกคักน้อยกว่าปีที่แล้ว
ขณะที่ร้อยละ 23.4 คาดว่าน่าจะคึกคักมากกว่าปีที่แล้ว
 
                  สำหรับในการลอยกระทงปีนี้ประชาชนร้อยละ 79.5 บอกว่าจะเลือกใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ
ย่อยสลายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น
รองลงมาร้อยละ 17.3 เลือกใช้กระทงที่หาซื้อได้สะดวก และร้อยละ 3.2
เน้นกระทงที่มีความสวยงามมาก่อน
 
                  ส่วนเรื่องในสังคมไทยที่อยากให้ลอยไปกับกระทงมากที่สุดคือ การเมืองไทย (ร้อยละ 56.4)
รองลงมาคือ ความไม่สามัคคี และความขัดแย้งของคนในชาติ (ร้อยละ 18.0) และนักการเมืองที่คอร์รัปชั่น โกงกิน(ร้อยละ 6.0)
 
                   เรื่องที่ประชาชนจะอธิษฐานขอพรจากพระแม่คงคาในวันลอยกระทงปีนี้มากที่สุดคือ ขอให้ตนเอง
และครอบครัวมีความสุข สุขภาพแข็งแรง พบเจอแต่สิ่งที่ดีๆ (ร้อยละ 50.9)
รองลงมาคือ ขอให้เศรษฐกิจดี ร่ำรวย
มีความเป็นอยู่ดีขึ้น (ร้อยละ 15.4) และ ขอให้การเรียน การทำงานราบรื่นๆ ประสบความสำเร็จ(ร้อยละ 14.8)
 
                   ทั้งนี้นักการเมืองที่ประชาชนอยากไปลอยกระทงด้วยมากที่สุด คือ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
(ร้อยละ 29.2)
รองลงมาคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 27.1) และนายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ (ร้อยละ 15.6)
 
                   สุดท้ายสาเหตุสำคัญที่อาจจะทำให้เปลี่ยนใจไม่ออกไปเที่ยวงานลอยกระทงมากที่สุด คือ
ไม่ชอบคนเยอะ อึดอัด (ร้อยละ 21.8)
รองลงมาคือ บรรยากาศทางการเมืองที่ไม่ปลอดภัย(ร้อยละ 18.2) และ
อาจจะไม่ว่าง/ติดงาน (ร้อยละ 13.8)
 
                  ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. ความตั้งใจในการออกไปลอยกระทงในปีนี้

 
ร้อยละ
จะออกไปลอยกระทง
52.4
ไม่แน่ใจ
47.6
 
 
             2. สถานที่ที่ประชาชนนึกถึงและอยากไปชมประเพณีลอยกระทงในปีนี้มากที่สุด คือ

 
ร้อยละ
สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง กรุงเทพฯ
32.4
งานยี่เป็ง จ.เชียงใหม่
19.9
เผาเทียนเล่นไฟ จ.สุโขทัย
11.8
ลอยกระทงตามประทีป ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จ.อยุธยา
8.5
งานลอยกระทงเมืองพัทยา จ.ชลบุรี
6.3
ลอยกระทงสาย ไหลประทีป จ.ตาก
5.9
ลอยกระทงกาบกล้วยเมืองแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม
3.8
อื่นๆ อาทิ วัดแถวบ้าน สะพานพุทธ ใต้สะพานพระราม 8 เป็นต้น
11.4
 
 
             3. บรรยากาศงานลอยกระทงในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

 
ร้อยละ
น่าจะคึกคักน้อยกว่าปีที่แล้ว
52.2
น่าจะคึกคักกว่าปีที่แล้ว
23.4
ไม่แน่ใจ
24.4
 
 
             4. ความเห็นต่อการเลือกกระทงที่จะใช้ลอยในปีนี้ คือ
                 (ถามเฉพาะผู้ที่จะออกไปลอยกระทง)

 
ร้อยละ
กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ย่อยสลายได้
และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น
79.5
กระทงอะไรก็ได้ที่หาซื้อได้สะดวก
17.3
กระทงที่เน้นความสวยงามมาก่อน
3.2
 
 
             5. เรื่องของสังคมไทย 5 อันดับแรก ที่อยากปล่อยให้ลอยไปกับกระทง มากที่สุด คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
การเมืองไทย
56.4
ความไม่สามัคคี และความขัดแย้งของคนในชาติ
18.0
นักการเมืองที่คอร์รัปชั่น โกงกิน
6.0
เศรษฐกิจแย่ๆ ข้าวของแพง ความยากจน
3.9
พ.ร.บ. นิรโทษกรรม
3.9
 
 
             6. เรื่องที่จะอธิษฐานขอพรจากพระแม่คงคา ในวันลอยกระทงปีนี้มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ขอให้ตนเองและครอบครัวมีความสุข สุขภาพแข็งแรง เจอแต่สิ่งที่ดีๆ
50.9
ขอให้เศรษฐกิจดี ร่ำรวย มีความเป็นอยู่ดีขึ้น
15.4
ขอให้การเรียน การทำงานราบรื่นๆ ประสบความสำเร็จ
14.8
ขอให้การเมืองไทยดีขึ้น คนไทยรักกันบ้านเมืองจะได้สงบสุข
10.5
ขอขมาพระแม่คงคา และขอให้สิ่งไม่ดีลอยไปกับแม่น้ำ
4.6
 
 
             7. นักการเมืองไทย 10 อันดับแรก ที่คนไทยอยากไปลอยกระทงในปีนี้ด้วยมากที่สุด คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
29.2
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
27.1
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์
15.6
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
5.8
นายชวน หลีกภัย
4.4
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
3.1
ร.ต.อ. เฉลิมอยู่บำรุง
1.7
นางปวีณา หงสกุล
1.2
นายกรณ์ จาติกวณิช
0.9
นายแทนคุณ จิตต์อิสระ
0.9
 
 
             8. สาเหตุสำคัญที่อาจจะทำให้เปลี่ยนใจไม่ออกไปเที่ยวงานลอยกระทงมากที่สุด (5 อันดับแรก)

 
ร้อยละ
ไม่ชอบคนเยอะ อึดอัด
21.8
บรรยากาศทางการเมืองที่ไม่ปลอดภัย
18.2
ไม่ว่าง/ติดงาน
13.8
กลัววัยรุ่นตีกัน
12.6
กลัวโดนพลุ ประทัด
10.0
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกี่ยวกับ การเที่ยวงานลอยกระทง
ปี 2556 ในประเด็นสถานที่ที่อยากไปชมงานลอยกระทงในปีนี้ การเลือกใช้กระทง เรื่องในสังคมที่อยากให้ลอยไปกับกระทง
และเรื่องที่จะอธิษฐานขอพรจากพระแม่คงคา ตลอดจนนักการเมืองที่อยากออกไปลอยกระทงด้วย รวมถึงเรื่องที่อาจจะทำให้
เปลี่ยนใจไม่ออกไปลอยกระทง ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
และใช้ประโยชน์ต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ด้วยวิธีสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,354 คน เป็นเพศชายร้อยละ 45.8
และเพศหญิงร้อยละ 54.2
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) ในส่วนของ และคำถามปลายเปิดให้
ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Ended) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึก
ข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  7 - 11 พฤศจิกายน 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 14 พฤศจิกายน 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
620
45.8
             หญิง
734
54.2
รวม
1,354
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
432
31.9
             26 – 35 ปี
354
26.1
             36 – 45 ปี
284
21.0
             46 ปีขึ้นไป
284
21.0
รวม
1,354
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
596
44.0
             ปริญญาตรี
670
49.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
88
6.5
รวม
1,354
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
114
8.4
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
321
23.7
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
282
20.8
             เจ้าของกิจการ
104
7.7
             รับจ้างทั่วไป
142
10.5
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
73
5.4
             นักศึกษา
294
21.7
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
24
1.8
รวม
1,354
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776